ผู้นำ หรือหัวหน้างาน / Supervisor มีบทบาทสำคัญยิ่งในการแนะนำ แก้ไขปัญหาและให้คำปรึกษาผู้ใต้บังคับบัญชาหรือทีมงาน ซึ่งการบริหารจัดการ “องค์ความรู้” ซึ่งมีอยู่ในทุกกระบวนการของการทำงาน ก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การร่วมกันถอดรหัส “ความสำเร็จ” จากผลลัพธ์ของงานที่เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการและการ “ถอดบทเรียน” จากงานที่ไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย นั้นว่าเกิดจากอะไร เพื่อที่ให้บุคลากร และทีมงานต่าง ๆ ขององค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็น “หัวใจ” ของการจัดการความรู้ | |||||
วัตถุประสงค์ | |||||
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจภาพรวมของการนำเสนองานในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มเตรียมการ จนจบการนำเสนองาน 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถรับมือกับความตื่นเต้นและจัดการคำถามระหว่างการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เสริมสร้างทักษะการนำเสนองาน ผ่านกิจกรรมการนำเสนอภายใต้เวลาที่จำกัด พร้อมทั้ง ได้ฝึกปฏิบัติและรับคำแนะนำ ข้อเสนอแนะรายบุคคล เพื่อสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาองค์กรต่อไป |
|||||
เนื้อหาหลักสูตร | |||||
Module 1 : Change Mindset • Check in: เป้าหมายการเรียนรู้ในวันนี้ • Knowledge Management (KM) คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการบริหารจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร - ประโยชน์ของ KM กับ Business Value Chain / ทุกกระบวนการในองค์กร มี KM อยู่เสมอ - องค์ความรู้ที่สำคัญ ที่ทำให้องค์กร อยู่ได้ ได้เปรียบในการแข่งขัน และการบรรลุพันธกิจ - การเชื่อมโยงการจัดการความรู้ สู่การบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์องค์กร - การจัดการความรู้ (KM) ช่วยให้เราปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และสะดวกขึ้นได้อย่างไร • องค์ประกอบสำคัญของกระบวนการจัดการความรู้ (People – Technology - Knowledge Process)ร - องค์ประกอบของความรู้ (Knowledge + Skills + Experience + Information) - ความรู้ที่อยู่ในคน (Tacit Knowledge) / ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) • วงจรการเปลี่ยนแปลงความรู้ (SECI Model) - การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Socialization) – สร้างพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ - การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) – แปลงความรู้จากตัวคนสู่ความรู้แบบเป็นรูปธรรม - การผสมผสานความรู้ (Combination) – รวบรวม และจัดหมวดหมู่ ความรู้ที่ชัดแจ้ง เพื่อการเข้าถึง - การผนึกความรู้ในตน (Internalization) -นำความรู้ที่ได้สู่การปฏิบัติ และถ่ายทอดต่อไป • 7 Steps ในกระบวนการจัดการความรู้ • บทบาทของบุคลากร แต่ละระดับในการบริหารจัดการความรู้ - ผู้บริหาร / Supervisor และพนักงานทั่วทั้งองค์กร - KM Facilitators ต้องเป็น “คนที่ใช่” และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ • ความสำคัญ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Community of Practices: COP Module 2 : Develop Skill Set • Workshop ค้นหาองค์ความรู้ที่สำคัญ ที่ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน และบรรลุพันธกิจองค์กร • Workshop ถอดรหัสความรู้ จากกระบวนการปฏิบัติงานที่สำคัญ สู่การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง - ผลงานที่บรรลุเป้าหมาย (Good or Best Practice Sharing) • ผลงานที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย (Lesson Learned) • บทบาทหัวหน้างาน กับการผลักดันสู่การปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง Module 3 : Design ecosystems to support • ระบบ และกระบวนการกระตุ้น และจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์กร • Workshop ค้นหา “พฤติกรรม” ในการสร้างเสริมการจัดการความรู้ Summary • บทสรุป และตอบข้อซักถาม • Checkout: สรุปการเรียนรู้ และขยายผล (After Action Review: AAR) |
|||||
รูปแบบการอบรม | |||||
• บรรยายหลักทฤษฎี 30% • ระดมสมอง ฝึกปฎิบัติ Workshop & Roleplay 70% |
|||||
วิทยากร : อาจารย์ ธวัชชัย แสงห้าว | |||||
• วิทยากร / ที่ปรึกษา ด้านการบริหารจัดการกลยุทธ์องค์กร การบริหารจัดการระบบบริหารงานบุคคลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ อาทิเช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม / สำนักงานประกันสังคม / SCG / Big C / Loxley / Thai Plastic / Mitsubishi / PTT / KTB / Nissan • ที่ปรึกษาสมาคมนายจ้างแห่งประเทศไทย (ECOT), รองประธานฯ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (Foundation for Integrated Human Development Center : iHDC), รองประธานฯ สมาคม Association of Professional Coach of Thailand : APC |
|||||
สนใจอบรมรูปแบบ Virtual / Online Training สามารถติดต่อ ได้ที่ คุณกานต์สินี หรือ คุณธนวรรณ โทรศัพท์ 065-3916594 email : cs@geniustraining.co.th หรือ Line OA : @geniustraining |