ในปัจจุบันสถิติการเกิดอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยทั้งสินค้าและบุคลากรในคลังสินค้าหรือโรงงานสูงมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากองค์กรที่ขาดการสนับสนุนการดำเนินงานด้านความ ปลอดภัยอย่างจริงจัง ทั้งทางด้านบุคลากร, งบประมาณ และเวลา ทำให้งานด้านความปลอดภัยไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมี ประสิทธิภาพ ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการกำหนดนโยบาย รวมทั้ง การกำหนดแนวทางในการดำเนินงานด้านการจัดการความปลอดภัยในคลังสินค้า การจัดการความปลอดภัยในคลังสินค้า (Warehouse Safety Management) เป็นหนึ่งในความสำคัญที่เราต้องตระหนักในการจัดการคลังสินค้าหรือโรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ ทั้งในเชิงบริหารงานและในเชิงปฏิบัติการ หลายครั้งเจ้าหน้าที่มีคำถามและข้อสงสัยถึง ความปลอดภัยของสินค้าและตัวบุคลากรเอง รวมถึงวิธีการและแนวทางที่จำเป็นในคลังสินค้าหรือโรงงาน และบ่อยครั้งเราพบว่า พนักงานคิดว่า การจัดการความปลอดภัยเป็นงานที่เพิ่มเติมและไม่จำเป็นในการทำงาน ในขณะเดียวกันนั้นเอง ยังมีพนักงานอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เข้าใจความสำคัญด้านความ ปลอดภัย มีระดับความมุ่งมั่นในการปรับปรุง พัฒนา ความปลอดภัยในใจเสมอตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากทีเดียวว่า เขาเหล่านั้นมีวิธีปฏิบัติงานอย่างไร และที่สำคัญที่สุด เขามีแนวคิดอย่างไร? จึงสามารถจัดการความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
|||||
วัตถุประสงค์ | |||||
1. มุ่งเน้นให้ผู้เข้าสัมมนาได้เข้าใจระบบความปลอดภัยใน คลังสินค้า, โรงงานและในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบเรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย 2. เพื่อจะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้และพัฒนางาน ด้านการบริหารความปลอดภัยในการทำงานและบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายในงานของหน่วยงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม 3. เพื่อให้สามารถลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นและสร้างความพึงใจ สูงสุดให้กับลูกค้า รวมทั้ง สามารถนำไปใช้จัดการปัญหาต่าง ๆ และพัฒนาศักยภาพ, ทักษะการทำงานที่มีประสิทธิภาพสู่ความเป็นมืออาชีพ เพื่อเป็นประโยชน์จากการทำงานแบบองค์รวม 4. เพิ่มขีดความสามารถในการจัดการความปลอดภัยและยังครอบคลุมมาตรฐานความปลอดภัย TAPA, ISO28000 และ CT-PAT |
|||||
เนื้อหาหลักสูตร | |||||
1. ความหมายและแนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน 2. มาตรฐานในการจัดการความปลอดภัยในคลังสินค้าหรือโรงงาน 3. การจัดการความปลอดภัยของตัวอาคารคลังสินค้า 4. ระบบควบคุมการผ่านเข้าหรือออกในพื้นที่ 5. กรรจัดการความปลอดภัยของเครื่องมือในคลังสินค้า 6. การจัดการทางบุคคลของบุคคลภายใน 7. การจัดการความปลอดภัยการขนส่ง 8. การจัดทำขั้นตอนปฏิบัติเรื่องความปลอดภัย 9. การศึกษาและฝึกอบรมให้ความรู้และสร้างจิตสำนึก 10. การจัดการคลังสินค้าเพื่อป้องกันสินค้าเสียหายและสูญหาย 11. การวิเคราะห์, การป้องกันและควบคุมอันตราย 12. การจัดการความเสี่ยงและการจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง 13. ขั้นตอนการปฏิบัติในการตอบสนองในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ 14. กลยุทธ์ในการบริหารงานตามกฎหมายความปลอดภัย 15. เทคโนโลยีและระบบในการรักษาความปลอดภัย |
|||||
รูปแบบการอบรม | |||||
• บรรยาย ให้ความรู้ความเข้าใจเชิงลึก • กรณีศึกษา ให้มีประสบการณ์เพิ่มจากตัวอย่างจริง • Workshop ฝึกปฏิบัติ ให้นำไปประยุกต์สู่การการทำงานจริง การปฏิบัติจริง |
|||||
วิทยากร : อาจารย์ สว่าง รงคะศิริพันธ์ | |||||
• วิทยากร / ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ ซัพพลายเชน ด้านงานขาย วางระบบและงานปฏิบัติการม รวมทั้ง ด้านคุณภาพ และความปลอดภัย ภายใต้ ISO, TAPA, C-TPAT และ AEO ประสบการณ์มากกว่า 20 ปี • อดีต Assistant General Manager Yusen Logistics (Thailand) Co., Ltd. • ที่ปรึกษากระทรวงอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ |
|||||
สนใจอบรม In-House Training สามารถติดต่อ ได้ที่ คุณกานต์สินี หรือ คุณธนวรรณ โทรศัพท์ 065-3916594 email : cs@geniustraining.co.th |