การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับ การจัดเก็บ การจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย เป้าหมายหลักในการบริหารดำเนินธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการดำเนินการเป็นระบบให้คุ้มกับการลงทุน
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น
1. การจัดการคลังสินค้ากับการผลิต
1.1 การผลิตที่ผลิตเป็นปริมาณน้อยแต่ทำการผลิตบ่อยๆ
1.2 การผลิตที่ผลิตาตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Make to order)
- Low Inventory carrying cos
- High set up cost
1.3 การผลิตที่ผลิตต่อครั้งเป็นปริมาณมาก (Make to stock)
- High Inventory carrying cost
- Low set up cost
2. การจัดการคลังสินค้ากับการขนส่ง
2.1 การขนส่งที่ต้องการรวบรวมสินค้าก่อนการขนส่ง (Consolidate) เพื่อประโยชน์ของการขนส่งที่เป็นปริมาณมากนั้น จำเป็นต้องใช้คลังสินค้าเป็นจุดรวบรวมและกระจายสินค้า (Consolidate point)
2.2 การขนส่งบางประเภทจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งลงได้โดยไม่ต้องใช้คลังสินค้าช่วย เช่น ระบบการขนส่งแบบ Milk run แต่ก็ต้องใช้ระบบการจัดการผลิตที่มีประสิทธิภาพและระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงด้วย
3. การจัดการคลังสินค้ากับการบริการ
กิจการบางประเภทต้องการระดับการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่รวดเร็วและแม่นยำ เช่น ระบบ Quick reponse ในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumable product) นั้น จำเป็นต้องใช้คลังสินค้าและระบบการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ เป็นต้น
ขอขอบคุณ
แหล่งที่มา : เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร Strengthening Warehouse Management Solutions โดย อ.สว่าง รงคะศิริพันธ์