พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 - PDPA : PERSONAL DATA PROTECTION ACT, B.E. 2562 (2019)

         เนื่องมาจากเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น “ข้อมูล” ที่เกิดจากช่องทางสื่อสารต่าง ๆ มากมาย จึงเป็นสิ่งมีค่าในยุค Big Data ทำให้การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลทำได้ง่ายขึ้น และหลายครั้งก็นำมาซึ่งความเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูล ตลอดจนสามารถส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ด้วย จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเก็บรักษาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้ยินยอม ดังนั้น จึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รวมถึงการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น
          ในส่วนขององค์กรและพนักงานในองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องทราบและเข้าใจ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 เพื่อให้สามารถนำไปใช้และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตัวพนักงานและองค์กร
วัตถุประสงค์
          1.  เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562
          2.  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล การเผยแพร่ข้อม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล
          3.  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำไปปรับใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เนื้อหาหลักสูตร
          1.   ความหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562
          2.   นิยามศัพท์ของ “ข้อมูลส่วนบุคคล” “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “เจ้าของข้อมูล”
          3.   การจัดเก็บข้อมมูล การเผยแพร่ข้อมูล
          4.   ผลกระทบที่เกิดจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
          5.   แนวทางการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องปฏิบัติอย่างไร ผู้ใช้จะต้องมีความรับผิดชอบแบบไหน
          6.   มาตรการการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล อ้างอิงจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562
          7.   ความต้องการใช้ข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวกับนายจ้าง และลูกจ้าง ต้องปฏิบัติอย่างไร
          8.   ความรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา และบทลงโทษ ในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
          9.   การจ่ายค่าสินไหม โทษปรับต่างๆ
          10. จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการอบรม
     -  บรรยายหลักการทฤษฎี
     -  ระดมสมอง ฝึกปฏิบัติ Workshop และนำเสนอ
วิทยากร : อาจารย์ พลกฤต โสลาพากุล
     •  วิทยากร / ที่ปรึกษา / โค้ช ด้านการพัฒนาองค์กร การพัฒนาคน การบริหารงานคุณภาพ ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ / บริษัท สิริมาตาคอร์เปอร์เรชั่น จำกัด / สำนักงานคณะกรรมการศาลยุติธรรม / บริษัท เกียรติธนา ขนส่ง จำกัด (มหาชน) / สถาบันสิ่งทอ / กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นต้น
     •  กรรมการบริหารสมาคมโค้ช ICF สาขากรุงเทพ Member Relation Director ICF Bangkok Chapter Board 2020
สนใจอบรม In-House Training สามารถติดต่อ ได้ที่
คุณกานต์สินี หรือ คุณธนวรรณ โทรศัพท์
065-3916594  
email : cs@geniustraining.co.th
สมัครอบรมสัมมนา