บุคลิกในการให้บริการ


การเสริมสร้างบุคลิกลักษณะบุคคล
มี 7 ประการคือ
1. The way you look (การมอง)
2. The way you dress (การแต่งกาย)
3. The way you talk (การพูด)
4. The way you walk (การเดิน)
5. The way you acts (การแสดงท่าทาง)
6. The skill with which you do thing (ทักษะในการทำงานในหน้าที่)
7. Your health (สุขภาพ)

เราควรจะพิจารณาว่า ตัวเรามีพร้อมแล้วยัง?? มีอะไรบ้างที่ควรจะได้การปรับปรุงแก้ไขเพื่อการเสริมสร้างบุคลิกภาพของตน
กลวิธีปรับปรุงแก้ไขให้มีบุคลิกลักษณะดีขึ้น
1. จงเป็นคนใจคอกว้างขวาง
2. จงให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
3. จงเป็นตัวของตัวเอง
4. จงแสวงหาคำแนะนำ
5. จงลงมือกระทำจนกว่าจะถูกต้อง
6. จงตรวจสอบผลความก้าวหน้าของท่าน


สำหรับพนักงานติดต่อบริการให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ
ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่มนุษย์ประกอบกิจขึ้นมาในโลกนี้ แต่ละอาชีพหรือหน้าที่ย่อมมีข้อแตกต่างในเชิงปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของเขตงานนั้น ๆ

อาชีพนักบริการ ก็เช่นกัน บุคคลซึ่งรับผิดชอบในหน้าที่นี้ ย่อมควรต้องมีคุณสมบัติสำคัญหลายประการ เพราะเป็นงานที่ต้องปฏิบัติระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ การเอาชนะเครื่องจักรและตัวเลขเอกสารถือเป็นงานปราศจากชีวิตชีวา แต่งานที่ต้องเอาชนะใจมนุษย์ได้นั้น เป็นงานศิลปะที่ละเอียดอ่อนและท้าทายความสามารถเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นงานที่น่าภาคภูมิใจหากผู้ปฏิบัติได้กระทำโดยถูกวิธี เขาจะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตลอดไป เพราะจะแวดล้อมด้วยมิตรและความสำเร็จ

องค์ประกอบสำคัญของนักบริการคือ
ด้านมนุษย์สัมพันธ์ (HUMAN RELATIONSHIP)
1. มีใบหน้ายิ้มแย้มเสมอ
2. พูดจาให้ชัดเจน ไพเราะ และเรียบร้อย
3. แต่งกายให้เรียบร้อยและสะอาด
4. เป็นคนดี น่ารัก สุภาพ และบุคลิกสง่าผ่าเผย
5. บริการให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
6. ไม่จำเป็นต้องรับคำเสมอไป แต่จะต้องพยายามให้ดีที่สุดที่จะไม่กล่าวคำปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมากับผู้ที่ มาติดต่อ เพราะยังมีวิธีพูดอีกหลายวิธีที่ใช้แทนกันได้
7. ในการติดต่อกับผู้ที่มาติดต่อที่เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมเข้าใจง่าย ๆ จงแนะนำอธิบาย แสดงความเสียใจหรือแล้วแต่กรณี แต่อย่าได้ทะเลาะโต้เถียง พูดย้อนหรือขึ้นเสียงเป็นอันขาด
8. ลูกค้าที่มาติดต่อเป็นฝ่ายถูกเสมอ
9. ต้องจำได้ว่า ไม่มีใครชนะในการโต้เถียง
10. จงรักษาอารมณ์ไว้ เพื่อรักษาตำแหน่ง

ศิลปโน้มน้าวจิตใจ (PERSUASIVE TECHNIQUE)
1. จงให้ความสนใจแก่ผู้นั้น หรือกลุ่มนั้นอย่างจริงใจ ท่านจะได้รับการต้อนรับและสนใจจากทุกคนทุกหนแห่ง นักบริการที่ดีไม่ควรพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง แต่จงให้ความสนใจแก่เขา และเรื่องที่เกี่ยวกับเขา แสดงออกไปทั้งทางกิริยา วาจา และใจ
2. ความยิ้มแย้ม เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความประทับใจให้แก่ทุกคนเมื่อแรกพบ
3. จงจำชื่อผู้ที่มาติดต่อให้ได้และใช้เรียกได้อย่างถูกต้อง เพราะทุกคนจะรู้สึกว่าคำพูดที่ไพเราะที่สุดและมีความหมายสำคัญยิ่งสำหรับเขา ก็คือ ชื่อของเขานั่นเอง
4. จงเป็นนักฟังที่ดี ด้วยการให้ความสนใจเรื่องที่เขาพูดและยั่วยุให้เขาพูดเรื่องเกี่ยวกับตัวเขา ไปเรื่อย ๆ ตามความพอใจของเขา
5. จงพูดในเรื่องที่เขากำลังสนใจ ได้แก่ เรื่องที่เขากำลังคลั่งไคล้เรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ ความชำนาญของเขาเอง เรื่องที่เขากำลังภาคภูมิใจ หรือเรื่องที่เขาเพิ่งได้รับความตื่นเต้นมาใหม่ ๆ
6. จงทำให้เขารู้สึกว่า เขาเป็นคนสำคัญ หรือชี้ให้เห็นจุดสำคัญดีเด่นในตัวเขา และจงทำเช่นนั้นด้วยความจริงใจ ทุกคนจะรู้สึกชอบท่านทันที เพราะทุกคนชอบการยอ และชอบที่มีใครยกย่องแม้จะเป็นยอกันต่อหน้าที่ก็ตามที

ทั้งหกประการที่กล่าวมานี้เรียกว่า SIX WAYS TO MAKE PEOPLE LIKE YOU ของ DALE CARNEGIE และนอกจากนี้แล้วยังมี TWELVE WAYS TO WIN PEOPLE TO YOUR WAY OF THINKING คือ

วิธีชนะใจผู้อื่นตามแนวความคิดของท่าน
1. การโต้เถียงที่ได้ผลที่สุด คือการไม่โต้เถียง
2. จงแสดงความเคารพในความคิดเห็นของเขา อย่าบอกว่าเขาผิด
3. ถ้าเราผิด จงรับผิดนั้นทันที และอย่างหนักแน่น
4. จงเริ่มต้นด้วยความเป็นมิตร พูดไพเราะอ่อนหวานไม่นำเรื่องขัดแย้งมากล่าว
5. จงทำให้เขาพูดยอมรับว่า “ใช่” โดยเร็ว ถ้าโดยตรงไม่ได้ก็ค่อยทำทางอ้อมให้เขายอมรับไปทีละขั้น ๆ
6. จงปล่อยให้เขาได้มีโอกาสพูดอย่างเต็มที่
7. จงทำให้เขารู้สึกว่า “ความคิด” นั้นเป็นของเขา แล้วเขาจะคล้อยตามโดยง่าย
8. จงพยายามมองดูเรื่องต่าง ๆ ใน “สายตา” ของเขา
9. จงแสดงความเห็นใจในความต้องการของเขา
10. จงพูดถึงสิ่งที่เขาควรภูมิใจ หรือปมเด่นของเขา ไม่ควรกล่าวถึงปมด้อยของเขา
11. จงแสดงความคิดเห็นของเรา ให้เป็นเรื่องที่น่าฟัง หรือสนุกสนาน
12. จงยั่วยุให้เกิดความรู้สึกแข่งขันไม่ยอมแพ้ หรือไม่น้อยหน้าใคร

วิธีสร้างความนิยมเลื่อมใสประทับใจด้วยการสื่อสารทางวาจา (FACE TO FACE CONVERSATION)
1. ควรพูดด้วยวาจาไพเราะและมีบุคลิกภาพ
2. ควรพูด้วยใบหน้าอันยิ้มแย้ม และแสดงความสนใจต่อผู้มาติดต่อหรือผู้ที่เราสนทนาอยู่ตลอดเวลา
3. ควรพูดอย่างสนิทสนมเป็นกันเอง คือ ไม่ควรวางมาดหรือบทบาทเป็นทางการนัก แต่ควรพูดอย่างมีคารวะอันควร
4. ควรพูดให้เป็นที่พอใจแก่คู่สนทนา หรือผู้มาไต่ถาม
5. ควรพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ เป็นภาษาพูด คือ ง่าย-สั้น ไม่ยาวฟุ่มเฟือย หรือเจื้อยแจ้ว
6. ควรพูดให้เป็นเข้าใจอย่างชัดแจ้งแก่คู่สนทนา และถ้าเป็นกรณีโต้ตอบคำซักถามของผู้มาติดต่อกิจการ ก็ควรรู้เรื่องทั่วไปไว้พอที่จะตอบให้ฟังเข้าใจได้
นิยามสำคัญที่น่าคิด “การค้นพบว่าลูกค้าชอบอะไรในตัวเรา ควรทำสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นอีกและการค้นพบว่าลูกค้าไม่ชอบอะไรในตัวเรา ก็ควรทำสิ่งนั้นให้น้อยลง”

บัญญัติ 10 ประการในการเชื่อมสัมพันธไมตรี
1. “ทักทาย” ไม่มีอะไรน่าชื่นใจเท่ากับคำกล่าวทักอย่างจริงใจ
2. “ยิ้ม” ถ้าคุณหน้าบึ้ง กล้ามเนื้อ 72 ชิ้น จะต้องออกกำลัง ในขณะที่คุณยิ้มจะใช้กล้ามเนื้อ เพียง 14 ชิ้นเท่านั้น
3. “ชื่อของบุคคลที่คุณเรียก” จะเป็นดนตรีอันไพเราะที่สุดสำหรับเจ้าของชื่อ
4. “มีมิตรภาพและน้ำใจ” เพื่อที่เขาจะมอบมิตรภาพและน้ำใจกลับมาให้คุณบ้าง
5. “จริงใจ” อย่าเสแสร้ง ท่าทางและคำพูด จงทำทุกอย่างด้วยน้ำใสใจจริง
6. “ใส่ใจในผู้อื่น” จงพยายามชอบคนรอบข้างของคุณให้ได้
7. “เผื่อแผ่คำชม” แต่จง “สงวนคำติ”
8. “นึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น” ถ้ามีข้อโต้แย้ง อย่าลืมว่า นอกจากคุณแล้ว ก็มีฝ่ายตรงข้ามและความถูกต้องที่ต้องคำนึงถึง
9. “พร้อมที่จะให้บริการ” การให้ที่มีความหมายต่อผู้รับมากที่สุดคือ “การให้บริการ”
10. “เพิ่มอารมณ์ขัน อดทนให้มาก ถ่อมตนสักเล็กน้อย” และคุณจะชื่นชมในผลลัพธ์ที่ได้มา

ขอบคุณสารสนเทศจาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ที่มา http://webhost.wu.ac.th/stipawan/index/link_etc_data/etclink/per/index.html